ในทะเลทรายของประเทศลิเบีย จะมีแร่อัญมณีชนิดหนึ่งที่ไม่พบในที่อื่น เป็นแก้วสีเหลืองทึบที่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า LDG หรือ Libyan Desert Glass
ซึ่งจากการค้นคว้าโดยเหล่านักธรณีวิทยาพบว่า แก้วสีเหลืองนี้จริงๆแล้วเป็นชิ้นส่วนของอุกกาบาตที่ตกลงมายังพื้นที่บริเวณนี้เมื่อราว 29 ล้านปีล่วงมาแล้ว
ทีมวิจัยได้ทดสอบแร่เพทายขนาดจิ๋วที่อยู่ในผลึกแก้วทะเลทรายที่พบในประเทศลิเบีย ระบุว่าก่อตัวขึ้นเมื่อ 29 ล้านปีก่อน และพบได้ในพื้นที่หลายพันตารางกิโลเมตรทางตะวันตกของอียิปต์
ทีมวิจัยเผยว่า การชนของอุกกาบาตและการระเบิดกลางอากาศทำให้เกิดการหลอมละลายได้ แต่การชนของอุกกาบาตเท่านั้นที่สร้างคลื่นกระแทกที่ก่อตัวเป็นแร่แรงดันสูง ซึ่งความคิดที่ว่าผลึกแก้วอาจก่อตัวขึ้นในช่วงที่มีการระเบิดกลางชั้นบรรยากาศนั้น ได้รับความนิยมหลังจากเหตุการณ์ระเบิดอย่างรุนแรงในรัสเซียเมื่อปี พ.ศ.2556 ส่งผลให้ประชาชนบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก
หินอวกาศต่างๆทั้งดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง หรือสะเก็ดดาว เมื่อเข้าสู่บรรยากาศโลกถ้าเป็นลูกเล็กๆก็จะถูกความร้อนจากการเสียดสีเผาไหม้จนจะสลายหายไป แต่ถ้าเป็นลูกใหญ่สลายไม่หมด ก็จะมีผลบั้นปลาย 2 อย่าง คือหากไม่ชนกับพื้นโลกโดยตรง ก็จะระเบิดก่อนตกถึงพื้นแบบเดียวกับที่เกิดในทังกัสกาเมื่อปี 1908 หรือที่เชลยาบินสก์เมื่อปี 2013 ซึ่งแรงระเบิดกลางอากาศในเหตุการณ์ทั้งสองนี้สูงถึง 5 และ 0.5 เมกกะตัน (Mt) ตามลำดับ
ทว่าผลลัพธ์ของการวิจัยครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นไปตามความคิดความเชื่อที่นิยมเหล่านั้น นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการไขปริศนาผลึกแก้วทะเลทรายจะช่วยให้เข้าใจถึงภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยได้เช่นกัน.
ผลวิจัยล่าสุดโดย Aaron J. Cavosie พบว่า การก่อตัวของแก้ว LDG มาจากเซอร์โคเนียมซิลิเกต (ZrSiO4) ที่ถูกแรงบีบอัดมหาศาลหลักล้านปาสคาลขึ้นไป ซึ่งการระเบิดกลางอาศของหินนอกโลกจะสร้างแรงอัดได้เพียงหลักหมื่นปาสคาลเป็นอย่างมาก แต่การเข้าชนพื้นของหินอวกาศขนาดใหญ่เมื่อ 29 ล้านปีที่แล้วได้ก่อให้เกิดแรงอัดสูงมหาศาลถึง 30 GPa (สามหมื่นล้านปาสคาล) ด้วยแรงอัดขนาดนี้จึงห่อให้เกิดแก้วทะเลทราย LDG ที่สวยงามขึ้นมาได้
แก้วLGD ใน ด้วงสีเหลืองใจกลางเครื่องประดับของฟาโรห์ตุตันคาเมน คืออุกกาบาตอายุ 29 ล้านปี
ผลวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสาร
https://pubs.geoscienceworld.org/…/overestimation-of-threat…
CR v: thairath, stem.in.th